top of page
Writer's pictureDahm M. Hongchai

History: The Agile Manifesto (Thai)

ที่มา: https://agilemanifesto.org/history.html


ระหว่างวันที่ 11 - 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 คน 17 คนนัดพบกันที่รีสอร์ทที่ชื่อว่า Snowbird Ski ที่อยู่ท่ามกลางภูเขา Wasatch ในรัฐยูท่าห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อพูดคุย เล่นสกี พักผ่อน ทานอาหาร และหาจุดร่วมรูปแบบการทำงานแบบใหม่ สิ่งที่ได้จากการพบกันครั้งนี้คือคำประกาศของการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile นั่นเอง มีตัวแทนจากรูปแบบในการทำงานแบบ Extreme Programming, SCRUM, DSDM, Adaptive Software Development, Crystal, Feature-Driven Development, Pragmatic Programming และอื่นๆ ต่างร่วมถกกันเพื่อให้เกิดทางเลือกใหม่ที่เข้ามาแทนที่การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเก่าที่เรียกว่า Heavyweight


การรวมตัวกันของคนจำนวนเยอะ ๆ เช่นนี้ที่มีความเห็นต่างออกไปของความเป็นไปในองค์กรในโลกปัจจุนั้นนั้นค่อนข้างที่จะหายาก ดังนั้นการรวมตัวกันในครั้งนี้ทำให้เกิด - คำประกาศการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile (Manifesto for Agile Software Development) - โดยมีการลงนามโดยผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด โดย Martin Fowler นักพัฒนาซอฟต์แวร์ชาวอังกฤษมีความเป็นห่วงว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่จะออกเสียงคำว่า Agile ไม่ถูกต้อง


ความกังวลช่วงต้นๆ ของการประชุมของ Alistair Cockburn สะท้อนถึงความคิดของผู้เข้าร่วมหลายๆ คนที่คิดว่า ตัวเขาเองไม่ได้ขาดหวังว่าผู้เข้าร่วมประชุมจะมีการตกลงเรื่องอะไรเป็นชิ้นสำคัญมากนัก แต่หลังจากที่ประชุมเสร็จ Alistair ได้ให้ความเห็นว่า เขารู้สึกดีใจมากกับคำประกาศการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile เขามีความประหลาดใจที่ทุกคนก็ดีใจกับคำประกาศนี้ ดังนั้นเราได้มีการตกลงเรื่องสำคัญในการประชุมในครั้งนี้


เราได้ตั้งชื่อกลุ่มขึ้นมา นั่นคือ “The Agile Alliance” เป็นกลุ่มของคนที่มีความคิดเป็นอิสระในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ในขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้ก็กลายเป็นคู่แข่งกันเอง คนกลุ่มนี้ได้ตกลงกันใน คำประกาศการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile ที่อยู่ในเว็บไซต์นี้


ในขณะที่คำประกาศ (Manifesto) ได้ให้ความคิดหรือไอเดียที่เฉพาะเจาะจง ก็มีไอเดียที่ลึกกว่าคำประกาศที่มีผลต่อผู้เข้าประชุมหลายๆ คน (ไม่ใช่ทุกคน) เช่นกัน Bob Martin ได้พูดเชิงตลกไว้ตอนท้ายหลังจากประชุมสองวันว่า เขากำลังเขียนคำประกาศในเชิงของอารมณ์และความรู้สึก (Mushy Statement) มีเพียงบางคนเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วยกับเขา พวกเราทุกคนรู้สึกว่าได้รับสิทธิพิเศษที่ได้ร่วมงานกับกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นตรงกัน ได้ร่วมกันเขียนคุณค่า (Value) ที่ว่าด้วยเรื่องความไว้ใจและการให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ได้สนับสนุนรูปแบบองค์กรที่ให้ความสำคัญกับคน (people) ความร่วมมือ (collaboration) และการสร้างองค์กรที่เราต้องการไปร่วมงานด้วย โดยผม (Jim Highsmith) ก็มีความเชื่อว่า Agile ประกอบไปด้วยความรู้สึกนึกคิด ที่หมายถึงการส่งมอบสินค้าที่ดีให้กับลูกค้า โดยการจัดสภาวะในการทำงาน โดยไม่มานั่งพูดกันว่าคนทำงานเป็นทรัพย์สมบัติของบริษัทที่สำคัญที่สุด แต่ที่จริงแล้วคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยตัดคำว่าทรัพย์สมบัติออก จากความสนใจที่มีต่อ Agile ที่มากขึ้นและข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่อ Agile ก็มีมากเช่นกัน สุดท้ายคือแนวคิด Agile คือสิ่งที่ประกอบไปด้วยความรู้สึกนึกคิด (Mushy Stuff) ที่ว่าด้วยเรื่องของคุณค่า (Values) และวัฒนธรรม (Cultures)



ตัวอย่างเช่น ผม (Jim Highsmith) คิดว่า Extreme Programming ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วไม่ได้เกิดจากการที่มี Pair-Programming (การเขียนโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมเมอร์สองคน) หรือแม้แต่ Refactoring (การเปลี่ยนโครงสร้างภายในของรหัสคอมพิวเตอร์) แต่ที่จริงแล้วต้องดูจากภาพรวมทั้งหมดที่ชุมชนของนักพัฒนาโปรแกรม (Developer Community) เป็นอิสระจากองค์กรที่เรียกว่า Dilbertesque corporation (องค์กรที่มีการโปรโมทให้พนักงานที่ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานในหน้างานเชิงเทคนิคของตนเองขึ้นไปเป็นระดับหัวหน้างานหรือระดับบริหารเพื่อป้องกันว่าผู้นั้นจะไม่ทำผิดพลาดในงานเชิงเทคนิคของตนเอง งานของเขาเหล่านั้นก็คือออกคำสั่งให้คนที่ทำงานเก่งให้ทำงานต่าง ๆ แต่ผู้นั้นก็ไม่มีทักษะของการเป็นผู้นำในการบริหารงานและบริหารคนเลย) Ken Beck เล่าให้ฟังว่า ตอนที่เขาเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ นั้น เขาได้ประเมินว่าการเขียนโปรแกรมในโปรเจ็คนั้นคาดว่าใช้เวลา 6 สัปดาห์ และใช้คนทำ 2 คน หลังจากนั้นผู้จัดการของเขาได้ให้นักเขียนโปรแกรมอีกคนหนึ่งไปทำโปรเจ็ค อื่น ทำให้เขาต้องใช้เวลากว่า 12 สัปดาห์ถึงจะทำโปรเจ็คนั้นให้แล้วเสร็จ โดยที่เขารู้สึกแย่กับตัวเองมาก ยิ่งไปกว่านั้น ผู้จัดการของเขากร่นด่าว่าเขาทำงานช้ามากหลังจากที่ผ่านช่วง 6 สัปดาห์แรกไปแล้ว เขารู้สึกไม่ดีเอามากๆ เพราะเขาคิดว่านั้นเป็นความผิดพลาดของเขาเอง แต่สุดท้ายแล้วเขาพบว่าโปรเจ็คนี้ต้องใช้คน 2 คน ถึงจะทำเสร็จภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ดังนั้นการทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายครั้งนี้ของเขาคือความผิดพลาดของผู้จัดการของเขานั่นเอง นับว่าเป็นความล้มเหลวที่เกิดจากความคิดที่ไม่ยอมปรับเปลี่ยนที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ กับวงการไอที


สถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นคนในการตลาด ผู้บริหาร ลูกค้าภายนอก ลูกค้าภายใน และแน่นอนนักพัฒนา ที่ผู้คนเหล่านี้ไม่อยากตัดสินใจกับอะไรที่มันยาก ๆ เลยสั่งการอย่างไร้เหตุผลผ่านโครงสร้างของบริษัทแทน นี่ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะของวงการพัฒนาซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่เป็นปัญหาของทุกองค์กรที่เป็นแบบ Dilbertesque organization


การที่จะประสบความสำเร็จในเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ก้าวเข้าสู่ e-business, e-commerce, และเว็บไซต์ บริษัทต่างๆ ต้องเอาตัวเองออกจากการบริหารงานแบบ Dilbert ซึ่งการมีชีวิตในการทำงานที่มีอิสระมากยิ่งขึ้นเป็นสิ่งดึงดูดให้เกิดแนวคิดของ Agile และสิ่งนี้ก็ทำให้คนที่นิยมการทำงานแบบเดิมๆ เริ่มกลัวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เป็นที่แน่นอนว่าการบริหารงานแบบ Agile ทำให้องค์กรที่ทำงานแบบเดิมๆ สั่นคลอนและหายไป องค์กรกรเหล่านี้จะมีการบริหารงานแบบกดดันมากกว่าที่จะพยายามทำให้ดีที่สุดให้กับลูกค้าพึงพอใจและสิ่งมอบตรงเวลาตามที่ได้ตกลงกันไว้


ความเคลื่อนไหวของ Agile ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้านกับระบบการทำงานแบบระบบเดิมแต่เป็นการกู้เครดิตให้กับระบบเดิมซะมากกว่า พวกเราต้องการที่จะทำให้เกิดความสมดุลขี้น เรารับได้กับการทำแบบจำลองแต่ไม่ใช่แบบจำลองที่ไม่ได้ประโยชน์อะไรจนฝุ่นจับ เรายอมรับกับการทำเอกสารแต่ไม่ใช่เอกสารที่ต้องทำหลายร้อยหน้าที่ไม่เคยได้รับการใช้หรือดูแล เรามีการวางแผนงาน แต่เป็นการวางแผนงานที่ไม่สมบูรณ์แบบแต่ดีพอสำหรับธุรกิจที่อยู่ในสภาวะที่ผันผวน มีหลาย ๆ คนที่นำเอา XP (Extreme Programming) หรือ SCRUM หรือ รูปแบบการทำงานอื่น ๆ ไปใช้แต่ไม่ได้เข้าใจรูปแบบการทำงานแบบนั้นอย่างลึกซึ้ง


ก่อนหน้าที่จะมีการประชุมที่ Snowbird Ski ที่รัฐยูท่านั้น ที่จริงแล้วมีการประชุมของกลุ่มคนที่ทำงานภายใต้รูปแบบ Extreme Programming และผู้ที่สนใจ จัดขึ้นโดย Ken Beck ที่ Rogue River Lodge ที่รัฐโอเรกอน ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 2000 ในที่ประชุมผู้เข้าร่วมมีการพูดถึงเพื่อสนับสนุนการทำงานภายใต้รูปแบบที่เรียกว่า ​​Light Methodologies แต่เมื่อจบการประชุมก็ไม่ได้มีอะไรผลลัพธ์อะไรออกมาเป็นทางการ ในช่วงปี ค.ศ. 2000 นั้นมีบทความมากมายที่เขียนถึงการทำงานในรูปแบบที่เรียกว่า Light หรือLightweight ซึ่งนั่นก็คือการทำงานในรูปแบบของ Extreme Programming, Adaptive Software Development, Crystal, และ SCRUM ในช่วงของการสนทนาที่รัฐโอเรกอนนั้นก็ไม่มีใครอยากใช้คำว่า Light แต่ก็ยังพูดเป็นที่ติดปากในเวลานั้น


เดือนกันยายนปี 2000 Bob Martin จาก Object Mentor ในชิคาโก้ ได้ส่งอีเมล์ โดยมีเนื้อหาดังนี้ “ผมอยากจะจัดประชุมเล็ก ๆ สักสองวันในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 ที่ชิคาโก้ วัตถุประสงค์ของการประชุมคืออยากให้เจ้าของการทำงานแบบใหม่ หรือ Lightweight ได้มาประชุมชุมนุมในห้องเดียวกัน ทุกคนได้รับการรับเชิญให้เข้าประชุมในครั้งนี้ ผมอยากทราบว่าผมควรจะเชิญใครอีก” แล้ว Bob Martin ก็ไปทำ Wiki ขึ้นมาที่เกิดการอภิปรายกันในนั้นอย่างมากมาย


ตอนแรก Alistair Cockburn ตอบกลับมาว่าเขาไม่ชอบคำว่า Light มากนัก เขาพูดว่า “เขาไม่ติดใจที่จะเรียกการทำงานในรูปแบบที่ Light แต่ผมไม่แน่ใจว่าจะให้เรียกผมว่าเป็นผู้ที่มีน้ำหนักน้อย ผอมแห้ง (Lightweight) เข้าร่วมประชุมกันว่าด้วยเรื่องผอมแห้ง และก็เหมือนการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมหลาย ๆ คนพยายามจำวันว่าวันนั้นเป็นวันอะไร"


เมื่อการถกเถียงในเรื่องของสถานที่จัดประชุมได้สิ้นสุดลง ก็มีความเป็นกังวลของสภาพอากาศในฤดูหน้าที่เมืองชิคาโกว่าอาจจะหนาวมากจนไม่สามารถทำอะไรที่สนุก ๆ ได้ จึงได้มีการจัดการประชุมขึ้นที่รัฐยูทาห์ขึ้นแทน ถึงแม้ว่าที่นั่นจะหนาวแต่ก็มีอะไรสนุก ๆ ให้ทำ เช่นการเล่นสกี ซึ่ง Martin Fowler ก็เล่นตั้งแต่ไปถึงวันแรกเลย อีกที่หนึ่งคือ Anguilla ในทะเลแคริบเบียน ที่นั่นอากาศอุ่นและมีสิ่งให้ทำสนุกสนาน แต่ก็จะเสียเวลาในการเดินทางไปที่นั่น สุดท้ายแล้วสถานที่เล่นสกีที่ชื่อว่า Snowbird จึงถูกเลือก อย่างไรก็ตามบางคนอย่างเช่น Ron Jeffries อยากให้ไปจัดประชุมที่ที่มีอากาศอบอุ่นในครั้งหน้า


พวกเราหวังว่าการทำงานของพวกเราในครั้งนี้ในฐานะ Agile Alliance จะช่วยให้คนอื่น ๆ ได้คิดคำนึงถึงการทำงานพัฒนาซอฟต์แวร์ และรูปแบบในการทำงานแบบต่าง ๆ รวมไปถึงรูปแบบองค์กร ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า รูปแบบ Agile ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้จริงพวกเราก็บรรลุวัตถุประสงค์ของพวกเราแล้ว


Jim Highsmith, for the Agile Alliance

©2001 Jim Highsmith


Dahm Mongkol Hongchai, Translator

©2019 Dahm Mongkol Hongchai





3,025 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page